วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิมาย เมืองขอมโบราณ

พิมาย เมืองขอมโบราณ
พิมาย เมืองขอมโบราณตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน

      
พิมาย เมืองขอมโบราณสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้ จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่า

     
พิมาย เมืองขอมโบราณปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร

     ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้ 

    
พิมาย เมืองขอมโบราณ สะพานนาคราช เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายในการสร้างให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์

     ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท

    ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกมีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม

    ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน (ระเบียงคด) เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธาน กำแพงชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน การบูรณะระเบียงคดเมื่อปีพ.ศ 2532 ได้พบแผ่นทองดุนลายรูปดอกบัว 8 กลีบ บรรจุไว้ในช่องบนพื้นหินของซุ้มประตูระเบียงคดเกือบจะทุกด้าน แผ่นทองเหล่านี้คงไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลเหมือนที่พบในปราสาทอื่นอีกหลายแห่ง

    ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวเป็นส่วนประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น องค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน

    ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูปประติมากรรมฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนานพื้นเมืองเรื่องท้าวพรหมทัตพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย  

    ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า ออกจากระเบียงคด (กำแพงชั้นใน) มาบริเวณลานชั้นนอกทางด้านทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย มีสองหลังตั้งอยู่คู่กันและมีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม


    
พิมาย เมืองขอมโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท มีบริการยุวมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพิมายวิทยานำชมสถานที่ฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4447 1568 โบราณสถานนอกกำแพงปราสาทหินพิมาย มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ 

    ประตูเมืองและกำแพงเมืองพิมาย สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บรรดาประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ ประตูชัยด้านทิศใต้นับเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุด เพราะรับกับถนนโบราณที่ตัดผ่านมาจากเมืองพระนครเข้าสู่ตัวปราสาทพิมาย หากหยุดยืนที่ช่องประตูเมืองด้านทิศใต้ จะมองเห็นปราสาทหินพิมายผ่านช่องประตูเมืองพอดี ลักษณะประตูเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางผ่านตลอดกลางประตู ส่วนของหลังคาได้หักพังไปหมดแล้ว เมรุพรหมทัต อยู่นอกกำแพงปราสาทด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ

    ปัจจุบันเป็นมูลดินทับถมจนเป็นรูปกลมสูงประมาณ 30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 59 เมตร ที่เรียกว่าเมรุพรหมทัตเพราะเชื่อว่าเป็นที่ถวายเพลิงพระศพท้าวพรหมทัตตามตำนานนั่นเอง แต่จากลักษณะการก่อสร้างเข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานทางด้านทิศใต้ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล 
พิมาย เมืองขอมโบราณ

เที่ยวแม่วงศ์ ชมความงามแบบธรรมชาติ

 เที่ยวแม่วงศ์ ชมความงามแบบธรรมชาติ

เที่ยวแม่วงศ์ ชมความงามแบบธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัด คือจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ เป็นหนึ่งในผืนป่าตะวันตกที่มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์มากที่สุดตั้งแต่จังหวัดตากจนถึงจังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร 
    พื้นที่ทิศเหนือของอุทยานฯติดกับอุทยานแห่งชาติคลองลาน ทิศใต้ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และทิศตะวันตกติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14กันยายน 2530


     เที่ยวแม่วงศ์ ชมความงามแบบธรรมชาติ ป่าส่วนใหญ่ของอุทยานฯประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญและมีค่ามากมาย เช่น สัก ประดู่ มะค่าโมง ยางแดง เต็ง รัง เป็นตัน 

    นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าที่หายาก เช่น ช้างป่า กระทิง เสือ กวาง เก้ง หมี แมวลาย และนกต่าง ๆ มากกว่า 305 ชนิด จาก 53 วงศ์ ซึ่งนกบางชนิดพบเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย เช่น นกกระเต็นขาวดำใหญ่ นกเงือกคอแดง นกกางเขนดง นกโพระดกหูเขียว และนกพญาปากกว้างหางยาว เป็นต้น ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวมากที่สุดคือฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
 เที่ยวแม่วงศ์ ชมความงามแบบธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภายในอุทยานฯ    แก่งผานางคอย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 1,800 เมตร เป็นแก่งหินลำห้วยคลองขลุง จากบริเวณแก่งหินเดินขึ้นไปประมาณ 350 เมตร จะถึงน้ำตกผานางคอย เป็นน้ำตกเล็ก ๆ มี 4 ชั้น และบริเวณใกล้น้ำตกสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ด้วย


จุดชมวิว กม. ที่ 81 จากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามถนนคลองลาน-อุ้มผาง ประมาณ 16 กิโลเมตร จะถึงบริเวณหน้าผา เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของป่ารอบ ๆ ได้อย่างสวยงาม บริเวณนี้สามารถกางเต็นท์พักแรมได้

ช่องเย็น กม. ที่ 93 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 28 กิโลเมตร เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน-อุ้มผาง สูง 1,340 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีสายลมพัดผ่านและหมอกปกคลุมอยู่เสมอ อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี และเป็นที่ดูพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามอีกจุดหนึ่ง สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าดิบเขา มีกล้วยไม้หายาก เช่น สิงโตกลอกตา เฟิร์น มหาสดำ มีนกหายาก เช่น นกเงือกคอแดง นกภูหงอนพม่า นกพญาปากกว้างหางยาว และนกหัวขวานใหญ่หงอนเหลือง นกเหล่านี้จะพบเห็นได้บริเวณบ้านพัก บริเวณ “ช่องเย็น” มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ แต่จะต้องเตรียมอุปกรณ์มาเอง คือ ผ้าพลาสติก เสื้อกันหนาว ตะเกียงหรือไฟฉาย เพราะไม่มีไฟฟ้าหรือเตาแก๊สสำหรับการปรุงอาหาร โลชั่นกันแมลง และถุงสำหรับนำขยะลงไปทิ้ง เพราะช่องเย็นไม่สามารถกำจัดขยะได้ เส้นทางขี้น-ลง

“ช่องเย็น” เป็นทางเลียบหน้าผาทางแคบรถไม่สามารถสวนกันได้ ทางอุทยานฯ จึงได้กำหนดเวลาขึ้น-ลง คือ เวลาขึ้น 05.00-06.00 น. 09.00-10.00 น. และ 13.00-14.00 น. เวลาลง 07.00-08.00 น. 11.00-12.00 น. และ 15.00-16.00 น.

ยอดเขาโมโกจู เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และสูงที่สุดในผืนป่าตะวันตก ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ 27 กิโลเมตร เป็นยอดเขาที่นักนิยมการท่องเที่ยวแบบเดินป่า ปีนเขา ต้องการที่จะไปเยือนสักครั้ง ด้วยความสูง 1,964 เมตร คำว่า “โมโกจู” เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า เหมือนฝนจะตก เนื่องจากบนยอดเขามักถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกและมีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา

    ผู้สนใจจะไปสัมผัสยอดเขาโมโกจู ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายเพราะจะต้องขึ้นเขาที่มีความลาดชันไม่ต่ำกว่า 60 องศา ใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ 5 วัน และต้องพักแรมในป่าตามจุดที่กำหนด นอกจากนั้นควรศึกษาสภาพเส้นทาง สภาพอากาศ และติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางก่อนจากทางอุทยานฯ ก่อนตัดสินใจจะไปสัมผัส “โมโกจู” ช่วงที่จะเปิดให้เดินขึ้นยอดเขาโมโกจู คือเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

 เที่ยวแม่วงศ์ ชมความงามแบบธรรมชาติน้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 9 ชั้น สูง 900 เมตร อยู่ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ 18 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินเท้าไป-กลับ 3-4 วัน น้ำตกแม่รีวา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 21 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สวยงามมาก มี 5 ชั้น รถเข้าไม่ถึงเช่นเดียวกันต้องใช้เวลาในการเดินทางไป-กลับ 2 วัน

น้ำตกแม่กี เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับน้ำตกแม่รีวาและน้ำตกแม่กระสา มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาถนนธงชัย การเข้าไปยังน้ำตกต้องเดินเท้าเวลาไป-กลับ 3-4 วัน น้ำตกนางนวลและน้ำตกเสือโคร่ง อยู่บริเวณ กม.ที่ 99 ของถนนคลองลาน-อุ้มผาง น้ำตกนางนวลต้องไต่เขาลงไปประมาณ 200 เมตร สำหรับน้ำตกเสือโคร่ง ต้องเดินไป 1 กิโลเมตร การเดินทางเข้าไปน้ำตกทั้งสองแห่งต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทุกครั้ง

     นอกจากนั้นอุทยานฯ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกนางนวล ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร และเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกธารบุญมี ซึ่งใช้เวลาในการเดิน 2 ชั่วโมง สามารถศึกษาพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ และพันธุ์นกต่าง ๆ ที่หาดูได้ยากอีกด้วย

     อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องเดินป่าระยะไกลซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อถึงฤดูกาลท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จะจัดทำตารางกำหนดเวลาเดินป่าระยะไกลประจำปีซึ่งนักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตามกติกาการเดินทางอย่างเคร่งครัด และควรติดต่อจองเวลาการเดินทางและขอคำแนะนำในการเตรียมตัวและอุปกรณ์จากเจ้าหน้าที่อุทยานให้พร้อม ทางอุทยานฯ มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง สอบถามข้อมูลได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กิโลเมตรที่ 65 ถนนคลองลาน-อุ้มผาง กิโลเมตรที่ 65 อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 62180 โทร. 0 5576 6024 0 5576 6027 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ

โทร.0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th

หรือ ตู้ ป.ณ. 29 อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 62180

     การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เลี้ยวซ้าย กม.ที่ 338 เข้าทางหลวงหมายเลข 1117สายคลองลาน-อุ้มผาง เมื่อถึงสี่แยกเข้าคลองลานให้ตรงไปอีก 19 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ แต่หากใช้ทางหลวง 1072 ลาดยาว-คลองลาน เมื่อถึงสี่แยกตลาดคลองลานแล้วให้เลี้ยวซ้ายไปที่ทำการอุทยานฯ หรือ นั่งรถโดยสารปรับอากาศ กรุงเทพฯ- คลองลาน ลงที่ตลาดคลองลาน แล้วเหมารถสองแถวหรือรถมอเตอร์ไซด์ไปอุทยานฯ ได้เช่นเดียวกัน
 เที่ยวแม่วงศ์ ชมความงามแบบธรรมชาติ

เที่ยวริมคลองที่ตลาดเก้าห้อง

เที่ยวริมคลองที่ตลาดเก้าห้อง


เที่ยวริมคลองที่ตลาดเก้าห้อง
ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลบางปลาม้า ห่างจากตัวอำเภอบางปลาม้าประมาณ 3 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรี 10 กิโลเมตร เป็นตลาดเก่าแก่ซึ่งเป็นย่านการค้าที่รุ่งเรืองริมแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือแม่น้ำท่าจีนเมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีมาแล้ว

    ปัจจุบันยังคงเห็นสภาพตลาดริมน้ำแบบอดีตที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ โดยมีหอดูโจร โรงสีเก่า ศาลเจ้า และบ้านเก้าห้อง (ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามตลาด) เป็นสิ่งก่อสร้างในอดีตที่น่าสนใจ มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้องให้ผู้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ชุมชนแห่งนี้แม้จะเงียบเหงาไปบ้าง

     แต่ในทุกวันอาทิตย์ชาวบ้านจะนำสินค้าอาหารคาวหวานมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือน มีทั้งขนมเปี๊ยะ ขนมจันอับ กระหรี่พัฟ ขนมถ้วยฟู กาแฟโบราณ ห่านพะโล้ ก๋วยเตี๋ยวเรือ ราดหน้า ผัดไทย เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3558 7044 การเดินทาง

     จากตัวเมืองสุพรรณบุรี ใช้เส้นทางสุพรรณบุรี-บางแม่หม้าย ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าตลาดเก้าห้อง มีลานจอดรถด้านหน้าตลาดฝั่งตรงข้ามโรงเรียนวัดบ้านหมี่

เที่ยวริมคลองที่ตลาดเก้าห้อง
ความเป็นมา
    คำว่า เก้าห้อง มาจาก บ้านเก้าห้อง เดิมเป็นบ้านของขุนกำแหงฤทธิ์ ต้นตระกูลประทีปทอง ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามตลาดเก้าห้อง อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำท่าจีน เป็นเรือนไทยฝาประกน ใต้ถุนสูง ลักษณะเป็นแนวยาว มี 9 ห้อง   

    สำหรับตลาดเก้าห้องสร้างขึ้นมาภายหลังในราวปี พ.ศ. 2465 โดยนายบุญรอด (ฮง) เหลียงพานิช คหบดีเชื้อสายจีน ซึ่งได้แต่งงานกับนางแพ หลานสาวของขุนกำแพงฤทธิ์เจ้าของบ้านเก้าห้อง

    ส่วนหอดูโจร เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน ก่ออิฐถือปูน กว้างยาวด้านละ 3 เมตร มีความสูงราวตึก 4 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 ตามผนังทั้ง 4 ด้าน เจาะรูเล็ก ๆ ขนาด 3 นิ้ว สำหรับเอาปืนส่องยิงโจรซึ่งมีอยู่ชุกชุมในสมัยนั้น จากด้านล่างภายในหอมีบันไดเหล็กสำหรับปีนขึ้นไปยังดาดฟ้า ซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของตลาดเก้าห้องและพื้นที่โดยรอบได้ทั้งหมด
เที่ยวริมคลองที่ตลาดเก้าห้อง

กองถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

กองถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

กองถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


กองถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

กองถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พร้อมมิตร ฟิล์ม สตูดิโอ กองถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จ.กาญจนบุรี
สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวไทยทั้งมวล เป็นภาพยนตร์ไตรภาคอันยิ่งใหญ่ที่ได้ดำเนินการถ่ายทำในบริเวณกองพลทหารราบที่ ๙ ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า ชมความสวยงามอลังการของฉากต่าง ๆ จากในภาพยนตร์ที่ท่านจะได้สัมผัสจริง ในพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ อาทิ วัดมหาเถรคันฉ่อง ห้องเก็บพระแสงปืนต้น อาณาจักรหงสาวดี สีหสาสนบัลลังก์ คุกใต้ดิน พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท ท้องพระโรงหงสาวดี นิทรรศการภาพถ่ายจากการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยจะมีวิทยากรประจำจุดต่างๆ มีจอพลาสมาบรรยายประวัติศาสตร์ภูมิหลังอธิบายฉากในการถ่ายทำภาพยนตร์ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถร่วมกิจกรรมสนุกต่าง ๆ อาทิ การแต่งกายชุดประวัติศาสตร์ ขี่ม้า ขี่ช้าง นั่งเกวียน และมีจุดจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว
กองถ่ายทำภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ชาวไทย 100 บาท เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี 50 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท ใช้เวลาในการเดินชมประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง - 2 ชั่วโมง การเยี่ยมชมกองถ่ายจะเป็นการเดินชม ให้สวมรองเท้าที่เหมาะสม พร้อมเตรียมอุปกรณ์กันแดด เช่น ร่ม หรือหมวกไปด้วย การเดินทาง กองถ่ายทำภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 24 กิโลเมตร จากตัวเมือง ใช้เส้นทางกาญจนบุรี - เขื่อนศรีนครินทร์ (ทาง 3199)ประมาณ 18 กิโลเมตร ถึงสี่แยกลาดหญ้า แยกขวาผ่านค่ายทหารและสวนสัตว์สุรสีห์ไปอีก 5 กิโลเมตร (มีป้ายบอกทาง) หากเดินทางโดยรถโดยสาร มีรถสองแถวจากตัวเมืองถึงสี่แยกลาดหญ้า จากจุดนี้ต้องตกลงราคาและนัดคนขับรถให้ไปส่งที่กองถ่ายฯ และนัดเวลารับกลับ สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท พร้อมมิตร ฟิล์ม สตูดิโอ โทร. 0 3453 2057-8 แฟ็กซ์ 0 3453 2056 สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. 0 2736 2300 เว็บไซต์ www.prommitrfilmstudio.com 

ชมอารยธรรมโบราณที่ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

ชมอารยธรรมโบราณที่ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
ชมอารยธรรมโบราณที่ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่ 44 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางจากกรุงเทพฯหรือนครราชสีมา ให้นั่งรถสายที่จะไป ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หรือ กาฬสินธุ์ ลงรถที่กม.44 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างจากปากทางเข้าหมู่บ้าน 

  แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

   บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชม มีทั้งหมด 3 แห่ง คือ

     หลุมขุดค้นที่ 1 มีโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร โครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค 2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก ยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้

      แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตาย ในช่วงสามระยะแรกนี้เป็นภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท บางชิ้นมีลักษณะเป็นทรงกลมสั้น ต่อมาในยุค 1,500ปี นั้นลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ คือ มีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง

     หลุมขุดค้นที่ 2 ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 13-16 เรียกกันว่า “กู่ธารปราสาท” และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์ และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท

     หลุมขุดค้นที่ 3 พบโครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5 เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่ากระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะ และภาชนะนั้นถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไปฝังด้วยกัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะไปแห่ประจาน และได้พบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันในอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างจากจุดเดิมเพียง 500 เมตร ชาวบ้านปราสาทจะร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี 
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท