วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง จ.นครราชสีมา
เป็น พิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกของภูมิภาคเอเซียที่มีการจัดแสดง นิทรรศการและซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์ที่สุด ด้วยเทคนิคที่น่าสนใจ ทั้งภาพ แสง สี เสียง รวมทั้งมีมุมกิจกรรมสำหรับเด็กในพื้นที่ 80 ไร่ ประกอบด้วย อาคารพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ

  - พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน พบกับพรรณไม้ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ อายุประมาณ 8 แสนปี ถึง 720 ล้านปี ภาพยนตร์เกี่ยวกับกำเนิดโลกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สัมผัสไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่เนื้ออัญมณีสีสันสวยงาม ความเชื่อ และภูมิปัญญาไทยกับไม้กลายเป็นหิน - พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ จัดแสดงนิทรรศการอุโมงค์ย้อนเวลาปัจจุบันสู่อดีต จากยุคหินใหม่อายุราว 3,000 ปีจนถึงสมัยช้างดึกดำบรรพ์ 4 งา เมื่อกว่า 10 ล้านปีก่อน ชมสารคดีวีดีทัศน์โลกล้านปี บนจอสกรีนโปร่งแสง พร้อมโครงกระดูกและหุ่นจำลองของช้างโคราช 4 งา ซึ่งเคยขุดค้นพบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และซากฟอสซิลอื่น ๆ อีกมากมาย

  - พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ จัดแสดงภาพการต่อสู้ของไดโนเสาร์ในห้องฉายวีดิทัศน์ 360 องศา หุ่นจำลองไดโนเสาร์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ และฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ขุดค้นพบในโคราช เช่น อิกัวโนดอน สยามโมไทรันนัส ฯลฯ

  นอกจากนี้ยังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เด่นของ อีสาน การพัฒนาทรัพยากร การกำเนิดภูเขาไฟ ผลกระทบจากการชนโลกของอุกกาบาตหรือดาวหางต่อไดโนเสาร์หรือช้างดึกดำบรรพ์ เป็นต้น


  การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-ปักธงชัย) ระยะทาง 19 กิโลเมตร เลี้ยวขวากิโลเมตรที่ 121 เข้าไปทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ประตูที่ 2) อีก 2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเลี่ยงเมืองสายมิตรภาพ-หนองปลิงอีก 1 กิโลเมตร

  ติดต่อ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เลขที่ 184 ถนนมิตรภาพ-หนองปลิง หมู่ 7 บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ 0 4421 6617-8, 0 4421 6620-1, 0 4425 4000 ต่อ 1202 โทรสาร 0 4421 6617 ต่อ 1111 อีเมล์ petrifiedwood_museum@hotmail.com

  หมายเหตุ - ขณะนี้ยังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ผู้สนใจเข้าชมทางศูนย์วิจัยมีเจ้าหน้าที่ และเอกสารต่างๆ ให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30 - 16.30 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น